RECORDING DIARY 13

 วันจันทร์ ที่ 9 พฤศิจกายน พ.ศ.2563

ความรู้ที่ได้รับ

   


            วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา แต่ละกลุ่มส่งแผนการจัดประสบการณ์ในหน่วยของตนเอง  เพื่อที่ให้อาจารย์ดู โดยรวบรวมเป็นไฟล์งานไปให้อาจารย์  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้เปิดดูทีละกลุ่ม ไปเรื่อยๆ จนครบทุกกลุ่ม และให้ดูเป็นแนวทางว่าเราควรที่ปรับปรุงแก้ไข แผนของตนเองอย่างไรและให้นักศึกษานำกลับไปใส่มาตรฐานเพิ่มตรงช่องบูรณาการ และส่งไฟล์งานให้อาจารย์ดูอีกครั้ง ว่าส่วนใดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติมหรือ  ต้องเสริมเนื้อหาให้เข้าใจมากขึ้น

          

                 

                       

                         

                                                        
 
                                        💛💛💛💛💚💚💚💚💚🧡🧡🧡🧡🧡🧡🧡
      

 👉หลังจากอาจารย์ดูแผนการจัดประสบการณ์เสร็จอาจารย์พูดถึงเนื้อหาพัฒนาการของเด็ก คุณลักษณะที่พึงประสงค์กับตัวบ่งชี้

พัฒนาการเด็กปฐมวัย    

        พัฒนาการของเด็กปฐมวัยด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญาแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามวุฒิภาวะและสภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับ พัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัยอาจเร็วหรือช้าแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน

            1.พัฒนาการด้านร่างกาย เป็นพัฒนาการที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของร่างกายในด้านโครงสร้างของร่างกาย ด้านความสามารถในการเคลื่อนไหว และด้านการมีสุขภาพอนามัยที่ดี รวมถึงการใช้สัมผัสรับรู้ การใช้ตาและมือประสานกันในการทา กิจกรรมต่างๆ

            2.พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เป็นความสามารถในการรู้สึกและแสดงความรู้สึกของเด็ก เช่นพอใจ ไม่พอใจ รัก ชอบ สนใจ เกียด โดยที่เด็กรู้จักควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆ

            3.พัฒนาการด้านสังคม เด็กได้เรียนรู้การปรับตัวให้เข้าสังคมกับเด็กอื่น พร้อมๆกับรู้จักร่วมมือในการเล่นกับกลุ่มเพื่อน เจตคติและพฤติกรรมทางสังคมของเด็ก

            4.ด้านสติปัญญา ความคิดของเด็กวัยนี้มีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ยังไม่สามารถเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น เด็กมีความคิดเพียงแต่ว่าทุกคนมองสิ่งต่างๆรอบตัว และรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ เหมือนตนเอง ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ที่สุด

ตัวบ่งชี้

    ตัวบ่งชี้เป็นเป้าหมายในการพัฒนาเด็กที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์จานวน ๑๒ มาตรฐาน โดยเลือกตัวบงชี้ในแต่ละมาตรฐานให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้

พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย 2 มาตรฐานคือ

มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี

มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรงใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน

พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน คือ

มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข

มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม

พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย  3มาตรฐาน คือ

มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มาตรฐานที่ 7 รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย

มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย 4 มาตรฐาน คือ

มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย

มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้

มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย

สนทนา  การใช้สื่อเป็นการทำให้เด็กสนใจ

ลงมือทำ  เด็กจะได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน สนุกที่คุยระหว่างกัน

🧡🧡🧡🧡🧡💙💙💙💙💙💙💛💛💛💛💛💛💚💚💚


การประเมินผล

ประเมินตนเอง   :   ตนเองมีความเข้าใจมากขึ้นจากการฟัง และตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน     :  เพื่อนทุกคนคอยตอบคำถาม อะไรที่เข้าใจถามอาจารย์ทันที

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบาย     ยกตัวอย่างที่ชัดเจน  กระชับ 

คำศัพท์อังกฤษ

1.  Evaluation  การประเมิน

2.Affective    อารมณ์

3.Creative  สร้างสรรค์

4.Standard   มาตรฐาน

5.Environment  สิ่งแวดล้อม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น