RECORDING DIARY 7

 

วันจันทร์ ที่ 28 กันยายน  พ.ศ.2563

ความรู้ที่ได้รับ

  
  👉วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอรูปแบบการสอนในแต่ละรูปแบบ ตามกลุ่มที่แบ่งเป็น 5 กลุ่ม  ตามที่ได้รับมอบหมายไว้
        
กลุ่มที่ 1  รูปแบบการสอนแบบไฮสโคป




หลักการโปรแกรมไฮสโคป
     👉เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

            การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การสอนแบบไฮ/สโคป มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์ (Piage’s Theory)ว่าด้วยพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติที่เด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้ (Constructive process of learning) เด็กจะเรียนรู้จากการกระทำของตน การประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน ช่วยให้เด็กเกิดความรู้ขึ้น  เด็กสามารถสร้างความรู้ได้จากประสบการณ์ที่มีความหมาย

👉การเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบไฮ/สโคป เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการที่เด็กได้ลงมือจัดกระทำกับอุปกรณ์ หรือสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประสบการณ์ตรง  โดยที่ครูจะเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ให้กับเด็กและกระตุ้นให้เด็กพัฒนาและดำเนินกิจกรรม โดยใช้หลักปฏิบัติ 3  ประการ  คือ
           การวางแผน ( Plan ) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติหรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย  มีการสนทนาระหว่างครับเด็ก  ว่าจะทำอะไร อย่างไร  การวางแผนกิจกรรมอาจจะใช้แสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็ก  เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือก และตัดสินใจ
            การปฏิบัติ ( Do ) คือการลงมือกระทำตามแผนที่วางไว้  เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา  ตัดสินใจและทำด้วยตนเอง  เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพัธ์ทางสังคมสูง
             การทบทวน ( Review ) เป็นช่วงที่ได้งานตามจุดประสงค์  ช่วงนี้จะมีการอภิปรายและเล่าถึงผลงานที่เด็กทำเพื่อทบทวนว่า เด็กสามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้หรือไม่  มีการเปลี่ยนแปลงแผนอย่างไร  และชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างแผนกับการปฏิบัติ  และผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ

                                                    💜💜💜💜💜💚💚💙💙💙💙💙

กลุ่มที่ 2 การสอนแบบโครงการ




👉การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา
โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
 👉1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การที่เด็กได้สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
👉2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) การทำงานภาคสนามในที่นี้ครูควรคิดถึงประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับจากการไปศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะแตกต่างจากการพาเด็กไปทัศนศึกษา 

👉3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation) การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตน สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจศึกษา
  👉4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ 

  👉 5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการ

                                                        💙💚💚💚💚💚💚💚💜💛💛💛💛💛

กลุ่มที่ 3 หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่


        หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่การปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถ
 
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
            👉ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย"สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระบบมอนเตสเซอรี่ คือ การจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริง และความต้องการของเด็ก เพื่อเด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพของเขาลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ
หลักสูตรของการสอน

        หลักสูตรนี้คือการจัดการเรียนการสอนที่มีแนวคิด คำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้มีการเตรียมสิ่งแวดล้อม จัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กซึมซับสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนเกิดความอยากรู้ อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ
วิธีการจัดการเรียนการสอน

        เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง

                    การเตรียม            =   ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้

             การดำเนินการ      =  ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน ครูสาธิตให้เด็กดู 

                ขั้นสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์ การจัดสภาพแวดล้อม
        
    ห้องเรียนแบบเปิด (Open Classroom) นั่งสบาย บรรยากาศเหมือนบ้าน มีเครื่องใช้อุปกรณ์ที่จัดอย่างมีระเบียบ ของใช้จะมีขนาดเหมาะสมกับเด็ก ติดกระดาน    ในระดับที่เด็กสามารถใช้งานได้ มีพื้นที่ให้เด็กได้เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมบนพื้นได้
 
                                                           💜💜💜💚💚💚💚💚💚💚💙💙💙💙💙

กลุ่มที่ 3 การสอนแบบสืบเสาะความรู้



    การสืบเสาะหาความรู้   เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ซึ่งกล่าวไว้ว่าเป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา  สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า

กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้
 
     1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว
  
2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่าง
ถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจ ตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ

 3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อ ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

 4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้น คว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือ เหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
 
     5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็น การประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่อง 

                                                💙💙💚💚💚💚💚💜💜💜💜💛💛

กลุ่มที่ 4 สะเต็มศึกษา (STEM Education )


แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนว STEM Ed. 

    แนวคิดการจัดการเรียนรู้ตามแนว STEM Ed เป็นการบูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน โดยการเรียนรู้จะเป็นลักษณะการบูรณาการแบบสหวิทยาการ คือ การจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนได้เรียนเนื้อหาและฝึกทักษะอย่างน้อย 2 วิชาร่วมกันโดยกิจกรรมมีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของทุกวิชา และ การบูรณาการแบบข้ามสาขาวิชา คือ การจัดการเรียนการสอนที่ช่วยนักเรียนเชื่อมโยงความรู้และทักษะที่เรียนรู้จากวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์กับชีวิตจริง โดยนักเรียนได้ประยุกต์ความรู้และทักษะเหล่านั้นในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนหรือสังคม

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มมีลักษณะ 5 ประการคือ
(1) เป็นการสอนที่เน้นการบูรณาการ
(2) ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาวิชาทั้ง 4 กับชีวิตประจำวันและการทำอาชีพ
(3) เน้นการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
(4) ท้าทายความคิดของนักเรียน
(5) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น และความเข้าใจที่สอดคล้องกับเนื้อหาทั้ง 4 วิชา

                                        💜💛💛💚💚💚💚💚💚💚🧡🧡🧡💙

กลุ่มที่ 5 การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ


👉หลักการสอน

                หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ  คือ  การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์  3  ประการ  ได้แก่  ความคิด  ความรู้สึก  และการกระทำ  โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก  ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
วิธีจัดการเรียนการสอน 

 👉การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู    ครูมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมเรียนรู้และการใช้ชีวิตอย่างธรรมชาติของเด็ก  งานของครูที่โรงเรียนคือการจัดการเรียนการสอนด้วยการเป็นตัวอย่าง  การจัดสิ่งแวดล้อมที่มีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย 

                           👉ทุกกลุ่มในการนำเสนอที่ข้อบกพร่องหรือสิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ รูปแบบการนำเสนอควรให้มีความน่าสนใจ อาจนำสื่อการสอน ตัวอย่างเข้ามาใหเห็นภาพ และควรทำความเข้าใจเนื้อหาของตนเองคล่อง ไม่เน้นการบรรยาย และน้ำเสียงควรมีความน่าตื่นเต้น อาจจะทำให้เนื้อหามีความน่าสนใจ และการอธิบายควรแตกประเด็นให้ชัดเจน ในแต่ละหัวข้อในการนำเสนอ

                                            🧡💙💙💚💚💚💚💛💛💛💜💚💚💚💚

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   :  ตนเองวางแผนในการทำงานมากขึ้น 

ประเมินเพื่อน     :  เพื่อนทุกคนกระตือรือร้นในการทำงานและการแบ่งกลุ่มในการทำงาน และหน้าที่

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายหัวข้อได้อย่างชัดเจน เข้าใจ กระชับ และแนะนำสิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข                                   ให้ดีขึ้น เพื่อที่นำไปพัฒนาให้ดีขึ้นยิ่งๆขึ้นไป

คำศัพท์อังกฤษ
1.Group Discussion  การอภิปรายกลุ่ม 
2.Open Classroom    ห้องเรียนแบบเปิด
3.Technology เทคโนโลยี
4.Engineering  วิศวกรรม
5.Education  การศึกษา




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น