วิจัย เรื่อง การศึกษาผลงานศิลปะของเด็กอายุ 5-6 ปีที่ได้รับการจัดประสบการณ์
ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟและเรกจิโอเอมิเลีย
👉ชื่อผู้เขียน จารุทัศน์ วงศ์ข้าหลวง
👉ปีการศึกษา 2551
👉มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ความสำคัญของวิจัย
💗การศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปศึกษาระดับปฐมวัยในด้านผลงานศิลปะของเด็กอายุ 5-6 ปีที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟและเรกจิโอเอมิเลีย ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ได้อย่างเหมาะสม
ความมุ่งหมายของการวิจัย
💖เพื่อศึกษาผลงานศิลปะของเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟและแนวการศึกษาเรกจิโอเอมิเลีย
ประชากรที่ใช้ในการทดลอง
💕ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผลงานศิลปะจำนวน 197 ชิ้น ของนักเรียนอายุ5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก(แนวการศึกษาวอลดอร์ฟ) และผลงานศิลปะจำนวน 328 ชิ้นของนักเรียนอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลมณีรัตน์ (แนวการศึกษาเรกจิโอเอมิเลีย) รวมทั้งสิ้น 525 ชิ้น
ตัวแปรที่ศึกษา
💕 ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดวอลดอร์ฟและเรกจิโอเอมิเลีย
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลงานศิลปะของเด็กอายุ 5-6 ปี
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. ผลงานศิลปะของเด็ก หมายถึง ผลงานจากการเรียนการสอนที่ใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ทุกรูปแบบที่เด็กสร้างสรรค์ขึ้นในระหว่างการเรียนของเด็กตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟและ แนวการศึกษาเรกจิโอเอมิเลีย ประกอบด้วย ผลงานภาพวาดระบายสี ผลงานปั้น และผลงานสื่อประสม ตามความหมายดังนี้
ระบายสีที่ไม่มีการวาดเส้นด้วยซึ่งอาจจะเป็นดินสอสี สีน้ำ สีเทียน สีชอล์ก ที่กำหนดโดยครู หรือตัวเด็กเอง
1.2 ผลงานปั้น หมายถึง งานปั้นของเด็กที่ใช้วัสดุขี้ผึ้ง ดินเหนียว โดยมีการแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมือ ผลงานมีความหมายและสื่อได้ตรงตามที่เด็กต้องการ
1.3 ผลงานศิลปะสื่อประสม หมายถึง ผลงานที่เด็กทำขึ้นโดยใช้สื่อวัสดุและวิธีการที่หลากหลาย เช่น ใช้ดิน กระดาษ เศษวัสดุ ใช้ดินสอสี สีน้ำ สีเทียน สีโปสเตอร์ ใช้วิธีการปั้น ภาพพิมพ์ วาดภาพระบายสี ปะติดปรัชญาที่ก่อตั้งโดย รูดอร์ฟ สไตเนอร์ (Rudlof Steiner) การเรียนการสอนมุ่งพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวมโดยเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็กอย่างอิสระ กิจกรรมศิลปะเป็นงานเสรีตามความสนใจของเด็ก
3. การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดเรกจิโอเอมิเลีย หมายถึง การจัดการศึกษาปฐมวัย ตามแนวคิดของลอริส มาลากุซซี่ (Loris Malaguzzi) ดำเนินการสอนจากหัวข้อโครงการที่เด็กและครูคิดร่วมกัน และศึกษาอย่างลุ่มลึกในเรื่องนั้น โดยใช้กิจกรรมศิลปะเป็นสื่อแสดงความคิดและสื่อสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้
4.เด็กอายุ 5-6 ปี หมายถึง เด็กที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ของโรงเรียนที่จัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ หรือ แนวการศึกษาเรกจิโอเอมิเลีย
5. หลักการศิลปศึกษา หมายถึง เกณฑ์การจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษาระดับปฐมวัย ประกอบด้วยวิธีและขั้นตอนการปฏิบัติด้านศิลปศึกษาเกี่ยวกับการวาดภาพระบายสี งานปั้น งานศิลปะสื่อประสม
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาและส่งเสริมด้านการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และทักษะทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ
2. เป็นแนวทางให้กับครูในการจัดกิจกรรมและส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆให้กับเด็กปฐมวัยต่อไป
3. ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนาเด็กปฐมวัยในการทำวิจัยรูปแบบอื่นๆต่อไป
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินผลงานศิลปะ ประกอบด้วย
1. แบบประเมินผลงานวาดภาพระบายสี
2. แบบประเมินผลงานปั้น
3. แบบประเมินผลงานศิลปะสื่อประสม
สรุปวิจัย
การศึกษาผลงานศิลปะของเด็กอายุ 5-6 ปีที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟและเรกจิโอเอมิเลียมีหัวใจหลักของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือการมุ่งพัฒนาเด็กอย่างเป็นองค์รวม ได้แก่ การลงมือปฏิบัติ (hands) ความรู้สึกหรือจิตใจ และสมอง (head) เพื่อดึงศักยภาพในตัวเด็กออกมาและการทําย้ำทำซ้ำ เป็นเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก ดังนั้นจึงทำให้ผลงานศิลปะของเด็กอายุ 5- 6ปีที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการศึกษาวอลดอร์ฟ มีผลงานศิลปะเพียง 3 ประเภทโดยที่เด็กจะกิจกรรมเพียง 3 ประเภทสลับกัน ไม่มีการทำงานศิลปะประเภทอื่นอีก ส่วนแนวการศึกษาจิโอเอเลีย จะเป็นศิลปะที่สื่อความหมายกับคนที่อยู่รอบข้างตัวเด็ก จึงจำเป็นจะต้องจัดสื่ออุปกรณ์และสื่อที่หลากหลายให้มากที่สุด เพื่อที่ตะให้เด็กรู้วิธีการและเทคนิคทางศิลปะหลายประเภท และจากการศึกษา แนวการศึกษาวอลดอร์ฟและแนวการศึกษาเรกจิโอเอมเลีย มีการใช้กิจกรรมศิลปะเป็นสื่อการเรียนรู้ควบคู่กับการส่งเสริมพัฒนาการและแนวการศึกษาวอลดอร์ใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อส่เสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์แต่ในขณะที่แนวการศึกษาเรกจิโอเอเลีย จะเพิ่มการเรียนรู้เข้าใน ผลงานศิลปะของแนวการศึกษาเรกจิโอเอมิเลยมี รูปแบบที่แตกต่างกันออกไปแต่ครูจะมีบทบาทหน้าที่ในการที่ให้เด็กใช้ความสร้างสรรค์อย่างอิสระโดยไม่ตีกรอบ ให้เด็กทำตามจินตนาการของตนเอง จะทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือกระทำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น