วันจันทร์ ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2563
ความรู้ที่ได้รับ
👉วันนี้เป็นการเรียนการสอนคาบแรกในรายวิชา อาจารย์ได้ทบทวนในสิ่งที่เรียนและให้นักศึกษาเล่าการไปสังเกตโรงเรียน ก่อนที่จะเรียนอาจารย์ถามว่ารูปแบบการเรียนการสอน มีรูปแบบอะไร
การสอน คือ กระบวนการในการดำเนินกิจกรรมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู็ตามวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการต่างๆ โดยหน้าที่สำคัญของผู้สอนคือช่วยใหผู้เรียนแต่ละคนเกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่
หลักสูตรการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี่ ผู้ริเริ่มคิดและจัดตั้งวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่การปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการตามธรรมชาติของเขา การที่จะช่วยให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามขั้นตอนของความสามารถ
จุดมุ่งหมายของการศึกษา
👉ช่วยพัฒนา หรือให้เด็กมีอิสระในด้านบุคลิกภาพของเด็กในวิถีทางต่างๆ อย่างมากมาย"สิ่งแวดล้อมของโรงเรียนระบบมอนเตสเซอรี่ คือ การจัดระบบเพื่อสะท้อนถึงศักยภาพที่แท้จริง และความต้องการของเด็ก เพื่อเด็กจะได้พัฒนาบุคลิกภาพของเขาลักษณะการสอนระบบนี้ เด็กจะก้าวหน้าไปตามธรรมชาติตามพัฒนาการของเด็ก เด็กมีอิสรภาพในการเลือกจากสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งต่างๆ
หลักสูตรของการสอน
💛🧡 หลักสูตรนี้คือการจัดการเรียนการสอนที่มีแนวคิด คำนึงถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นตั้งใจในการเรียนรู้ รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเองของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระในขอบเขตที่กำหนดไว้ให้มีการเตรียมสิ่งแวดล้อม จัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ให้เด็กซึมซับสิ่งแวดล้อมรอบตัว จนเกิดความอยากรู้ อยากเห็น และแสวงหาความรู้อย่างมีสมาธิ
วิธีการจัดการเรียนการสอน
🧡🧡💛💛💚💚💚💚💙💙💙💙💙
การเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ
👉หลักการสอน
หัวใจของการเรียนการสอนแบบวอลดอร์ฟ คือ การสร้างความสมดุลของจิตมนุษย์ 3 ประการ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยไม่มีการรบกวนจากเทคโนโลยีภายนอก ความสงบทางจิตใจจะช่วยให้เด็กเรียนรู้จากการใช้วินัยในตนเอง
การสอนแบบโครงการ
👉การสอนแบบโครงการ (Project Approach) เป็นการศึกษาอย่างลงลึกในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่ง โดยเด็กเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่ม หรือทั้งชั้นเรียน เป็นวิธีสอนที่เหมาะสำหรับเด็กทั้งในระยะปฐมวัยจนกระทั่งชั้นประถมศึกษา
โครงสร้างของการสอนแบบโครงการมีดังต่อไปนี้
👉1. การอภิปรายกลุ่ม (Group Discussion) ในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ ครูสามารถแนะนำการเรียนรู้ให้แก่เด็ก ช่วยให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนทำกับเพื่อน การที่เด็กได้สนทนาร่วมกันทั้งเป็นกลุ่มย่อยและทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับหัวข้อที่เด็กสนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
👉2. การทำงานภาคสนาม (Field Work) การทำงานภาคสนามในที่นี้ครูควรคิดถึงประสบการณ์ตรงที่เด็กจะได้รับจากการไปศึกษานอกสถานที่ ซึ่งจะแตกต่างจากการพาเด็กไปทัศนศึกษา
👉3. การนำเสนอประสบการณ์ (Representation) การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตน สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจศึกษา
👉4. การสืบค้น (Investigation) การสืบค้นในการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการสามารถใช้แหล่งข้อมูลที่หลากหลายตามเรื่องที่เด็กสนใจ เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด็กๆ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลอื่นๆ
👉5. การจัดแสดง (Display) ผลงานของเด็กทั้งที่เป็นงานรายบุคคล หรืองานกลุ่มซึ่งสามารถนำมาจัดแสดงไว้ตลอดทุกระยะของการดำเนินการตามโครงการเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดหรือความรู้ให้เด็กทั้งชั้นเรียนได้เรียนรู้ การจัดแสดงช่วยให้เด็กและครูมีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของโครงการ
🧡💛💛💛💛💚💚💚💚💙💙💙🧡
หลักการโปรแกรมไฮสโคป
👉เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กและการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น
การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่งสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
การที่เด็กได้ลงมือทำงามหรือกิจกรรมด้วยความสนใจ จะทำให้เด็กสนุกกับการทกงาน การทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ผลงานที่เกิดขึ้นนับเป็นความสำเร็จของเด็กในการลงมือทำกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข
🧡🧡🧡🧡💛💛💛💚💚💚💚💚💚
💅💅การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การไปสังเกตการสอนตามโรงเรียนต่างๆ เป็นการทำให้เรารู้ความว่าแต่ละโรงเรียนมีการจัดการศึกษาที่แตกต่างกันออกไปและการที่เราได้สังเกตรอบนี้ เป็นการจัดการเรียนการสอนในยุค New Nomal ได้มีรูปแบบมาตารการที่สร้างความปลอดภัยให้กับเด็กและผู้ปกครอง และการปรับตัวให้เข้าเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป เพราะแต่โรงเรียนมีมาตราความดูแล ที่ให้เด็กผู้ปกครองไว่วางใจที่ได้เข้ามาเรียน และอาจารย์เล่าแต่ละโรงเรียนตารางประจำเป็นอย่างไร มีการเรียนการสอนมีวิธีการจัดการอย่างไร
💅💅💅อาจารย์สอนเพลง 2 เพลงให้กับนักศึกษา ในการเก็บเด็ก 💅💅💅
เพลง กุมมือ
มือกุมกัน แล้วก็ยืนตรงๆ (ซ้ำ 2รอบ)
ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง
เพลง นั่งสมาธิ
นั่งขัดสมาดให้ดี สองมือวางทับกันทันที หลับตาตั้งตัวตรงสิ
ตั้งสติให้ดี ภาวนาในใจ พุธโธ พุธโธ พุธโธ
💅💅💅💅อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มทำงาน ศึกษาแผนกิจกรรมจัดประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจากสิ่งที่เรียนมา ศึกษาและทำความเข้าใจ เขียนเป็นแผนผังความคิดพร้อมสรุป
💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛💛
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตนเองวอกแวกและสามารถดึงสติกลับมาตั้งใจฟัง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่ละคนวันนี้คุยกันเยอะ แต่ยังไม่เข้าใจคำถามแต่ช่วยกันตอบ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ มีการยกตัวอย่างประกอบ
และมีคำถามให้นักศึกษาคิด และวิเคาระห์
ประเมินตนเอง : ตนเองวอกแวกและสามารถดึงสติกลับมาตั้งใจฟัง
ประเมินเพื่อน : เพื่อนแต่ละคนวันนี้คุยกันเยอะ แต่ยังไม่เข้าใจคำถามแต่ช่วยกันตอบ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ มีการยกตัวอย่างประกอบ
และมีคำถามให้นักศึกษาคิด และวิเคาระห์
คำศัพท์อังกฤษ
1.educational institution สถานศึกษา
2.instructional media สื่อการสอน
3.lesson plan แผนการสอน
4.integration การบูรณาการ
5.intelligence สติปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น